วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2559

สรุปบทที่ 3 , กิจกรรมท้ายบทที่ 3 , สรุป Li-Fi


สรุป

เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลมีการใช้งานระบบอินเทอร์เน็ตอย่างแพร่หลาย ซึ่งขั้นพื้นฐานของระบบอินเตอร์เน็ตนั้นพัฒนามาจารระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การเชื่อมต่อกันระหว่างคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป ผ่านสื่อกลางในการติดต่อสื่อสาร ระบบการสื่อสารข้อมูลประกอบไปด้วย ข้อมูล ฝ่ายผู้ส่งข้อมูล ฝ่ายผู้รับข้อมูล สื่อกลางส่งข้อมูลและโพรโตคอล รูปแบบกาสื่อสารข้อมูลบนระบบเครือข่าย มี 3 รูปแบบคือ แบบ Unicast แบบ Broadcast และแบบ Multicast เราสามารถจำแนกประเภทของเครือข่ายออกได้หลายลักษณะ เช่น แบ่งตามขนาดพื้นที่การให้บริการ (LAN, MAN, WAN) สำหรับการติดต่อสื่อสารจำเป็นต้องมีมาตรฐานที่ใช่กันเพื่อติดต่อสื่อสารกัน การใช่มาตรฐานในการติดต่อสื่อสารในปัจจุบันเป็น IEEE802.11n ระบบเครือข่ายพิจารณาได้จาก สมถรรนะ ความน่าเชื่อถือ และความปลอดภัย โดยสามารถประยุกต์ใช้งานระบบเครือข่ายในด้านการติดต่อสื่อสาร  ด้านการค้นหาข้อมูล ด้านธุรกิจและการเงิน ด้านการศึกษา และด้านการแพทย์

กิจกรรมท้ายบทที่ 3 

1.องค์ประกอบพื้นฐานของระบบสื่อสารข้อมูลแต่ละชนิดทำหน้าที่อย่างไร

ตอบ   1. ผู้ส่ง (Sender) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งข่าวสาร (Message) เป็นต้นทางของการสื่อสารข้อมูลมีหน้าที่เตรียมสร้างข้อมูล เช่น ผู้พูด โทรทัศน์ กล้องวิดีโอ เป็นต้น
         2. ผู้รับ (Receiver) เป็นปลายทางการสื่อสาร มีหน้าที่รับข้อมูลที่ส่งมาให้ เช่น ผู้ฟัง เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
        3. สื่อกลาง (Medium) หรือตัวกลาง เป็นเส้นทางการสื่อสารเพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง สื่อส่งข้อมูลอาจเป็นสายคู่บิดเกลียว สายโคแอกเชียล สายใยแก้วนำแสง หรือคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น เลเซอร์ คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุภาคพื้นดิน หรือคลื่นวิทยุผ่านดาวเทียม
        4. ข้อมูลข่าวสาร (Message) คือสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสาร ซึ่งอาจถูกเรียกว่า สารสนเทศ (Information) โดยแบ่งเป็น 5รูปแบบ ดังนี้
         4.1 ข้อความ (Text) ใช้แทนตัวอักขระต่าง ๆ ซึ่งจะแทนด้วยรหัสต่าง ๆ เช่น รหัสแอสกี เป็นต้น 
         4.2 ตัวเลข (Number) ใช้แทนตัวเลขต่าง ๆ ซึ่งตัวเลขไม่ได้ถูกแทนด้วยรหัสแอสกีแต่จะถูกแปลงเป็นเลขฐานสองโดยตรง
         4.3 รูปภาพ (Images) ข้อมูลของรูปภาพจะแทนด้วยจุดสีเรียงกันไปตามขนาดของรูปภาพ
         4.4 เสียง (Audio) ข้อมูลเสียงจะแตกต่างจากข้อความ ตัวเลข และรูปภาพเพราะข้อมูลเสียงจะเป็นสัญญาณต่อเนื่องกันไป
         4.5 วิดีโอ (Video) ใช้แสดงภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเกิดจากการรวมกันของรูปภาพหลาย ๆ รูป
      5. โปรโตคอล (Protocol) คือ วิธีการหรือกฎระเบียบที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจกันหรือคุยกันรู้เรื่อง โดยทั้งสองฝั่งทั้งผู้รับและผู้ส่งได้ตกลงกันไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว ในคอมพิวเตอร์โปรโตคอลอยู่ในส่วนของซอฟต์แวร์ที่มีหน้าที่ทำให้การดำเนินงาน ในการสื่อสารข้อมูลเป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ ตัวอย่างเช่น X.25, SDLC, HDLC, และ TCP/IP เป็นต้น 


2, การสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้าง จงอธิบาย

ตอบ   1.  คอมพิวเตอร์อย่างน้อย 2 เครื่อง ขึ้นไป เพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล สื่อสารในลักษณะต่างๆ ตามวัตถุประสงค์การใช้งาน


2. เน็ตเวิร์คการ์ด หรือ NIC (Network Interface Card) 
        เน็ตเวิร์คการ์ดเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่าย ส่วนใหญ่จะเรียกว่า NIC (Network Interface Card) หรือบางทีเรียกว่า แลนการ์ด (LAN Card) อุปกรณ์นี้จะทำหน้าที่แปลงข้อมูลเป็นสัญญาณที่สามารถส่งไปตามสายสัญญาณหรือสื่อแบบอื่นได้


3. สื่อกลางและอุปกรณ์สำหรับการรับส่งข้อมู เช่น สายสัญญาณ สายสัญญาณที่นิยมใช้ในระบบเครือข่าย ได้แก่ 


      - สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)
        สายแบบนี้จะประกอบด้วยตัวนำที่ใช้ในการส่งข้อมูลเส้นหนึ่งอยู่ตรงกลางอีกเส้นหนึ่งเป็นสายดิน ระหว่างตัวนำสองเส้นนี้จะมีฉนวนพลาสติกกั้นสายโคแอคเชียลแบบหนาจะส่งข้อมูลได้ไกลหว่าแบบบาง
แต่มีราคาแพงและติดตั้งได้ยากกว่า เรียกสั้นๆ ว่า ":""''สายโคแอก"

      - สายคู่บิดเกลียว (Twisted pair)
        เป็นสายทองแดงแบบดั้งเดิมที่เชื่อมต่อบ้านและบริษัทต่าง ๆ กับผู้ให้บริการโทรศัพท์เพื่อลด cross talkหรือการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าระหว่างคู่สาย จะใช้สายทองแดงหุ้มฉนวนพันกันเป็นเกลียว แต่ละการเชื่อมต่อบนสาย twisted pair ต้องการทั้ง สาย เนื่องจากโทรศัพท์บางแบบหรือที่ตั้งโต๊ะ บางที่ต้องการเชื่อมแบบหลายการเชื่อมต่อ สาย twisted pair ในบางครั้งจึงมี คู่ หรือมากกว่าภายในสายเคเบิลเดียว สำหรับที่ตั้งบริษัทบางแห่ง สาย twisted pair มีการหุ้มเพื่อทำหน้าที่เป็นสายดิน ซึ่งเรียกว่า shield twisted pair (STP)สายที่ใช้ตามบ้านทั่วไปคือ unshielded twisted pair (UTP)
      
      - เส้นใยแก้วนำแสง (Fiber Optic)
        เป็นตัวกลางของสัญญาณแสงชนิดหนึ่ง ที่ทำมาจากแก้วซึ่งมีความบริสุทธิ์สูงมาก เส้นใยแก้วนำแสงมีลักษณะเป็นเส้นยาวขนาดเล็ก มีขนาดประมาณเส้นผมของมนุษย์เรา เส้นใยแก้วนำแสงที่ดีต้องสามารถนำสัญญาณแสงจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้ โดยมีการสูญเสียของสัญญาณแสงน้อยมาก



3. รูปแบบการสื่อสารข้อมูลชนิดใดที่นิยมในเครือข่ายท้องถิ่นในปัจจุบัน เพราะอะไรจงอธิบาย

ตอบ การสื่อสารข้อมูล (Data Communications) หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน
                     วิธีการส่งข้อมูลนี้ จะแปลงข้อมูลเป็นสัญญาณ หรือรหัสเสียก่อนแล้วจึงส่งไปยังผู้รับ และเมื่อถึงปลายทางหรือผู้รับก็จะต้องมีการแปลงสัญญาณนั้นกลับมาให้อยู่ในรูปที่มนุษย์ สามารถที่จะเข้าใจได้ ในระหว่างการส่งอาจจะมีอุปสรรค์ที่เกิดขึ้นก็คือ สิ่งรบกวน (Noise) จากภายนอกทำให้ข้อมูลบางส่วนเสียหายหรือผิดเพี้ยนไปได้ซึ่งระยะทางก็มีส่วนเกี่ยวข้อง ด้วยเพราะถ้าระยะทางในการส่งยิ่งมากก็อาจจะทำให้เกิดสิ่งรบกวนได้มากเช่นกัน จึงต้องมีหาวิธีลดสิ่งรบกวนเหล่านี้ โดยการพัฒนาตัวกลางในการสื่อสารที่จะทำให้เกิดการรบกวนน้อยที่สุด
ส่วนประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล ได้แก่
1.  ตัวส่งข้อมูล
2.  ช่องทางการส่งสัญญาณ
3.  ตัวรับข้อมูล
4.  การสื่อสารข้อมูลในระดับเครือข่าย

4. เพราะเหตุใดระบบเครือข่ายไร้สายจึงเป็นที่นิยมในปัจจุบัน

ตอบ  ปัจจุบันเทคโนโลยีเครือข่าย LAN แบบไร้สาย หรือ WLAN (Wireless LAN) กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากประโยชน์ของ WLAN มีอยู่มากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่ง WLAN สร้างความสะดวกและอิสระในการใช้งานและติดตั้งเครือข่าย เทคโนโลยี WLAN ทำให้การเชื่อมต่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในบ้านหรือสำนักงานเข้าด้วยกันหรือต่อเข้ากับเครือข่ายไม่จำเป็นจะต้องใช้สายนำสัญญาณให้ยุ่งยากและดูเกะกะอีกต่อไป อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั้งแบบตั้งโต๊ะและพกพาสามารถเชื่อมต่อถึงกันหรือเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายจากตำแหน่งต่างๆ ที่อยู่ในรัศมีของสัญญาณได้อย่างอิสระ 

สรุป Li-Fi

เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง จากการลากสายแลน สู่เทคโนโลยีไร้สาย Wi-Fi ที่เราใช้จนคุ้นเคยมาหลายปีแล้ว จริงอยู่ว่าสะดวกในการเชื่อมต่อและใช้งานง่าย แต่ความต้องการของผู้ใช้อย่างเราๆก็อยากได้เน็ตแรง เน็ตความเร็วสูง (หลอด)​ ไฟแรงเฟร่อ Li-Fi จึงเป็นอีกเทคโนโลยีที่น่าจับตามอง

ที่มา http://purelifi.com/what_is_li-fi/how-does-vlc-work/
เทคโนโลยี Li-Fi ถูกขนานนามว่า "แรงกว่า Wi-Fi เป็นร้อยเท่า" พาดหัวแบบนี้ ส่วนใหญ่สนใจ เพราะใครๆก็ต้องการความแรง ความเร็ว ยิ่งการดาวน์โหลด อัพโหลด ยิ่งไว ยิ่งใช้เวลาน้อย ตอนนี้อะไรก็ไวไปหมด เทคโนโลยี Li-Fi ที่คิดค้นในห้องแล็ป กำลังจะกลายเป็นความจริง โดยเฉพาะการใช้งานในออฟฟิศ และอุตสาหกรรมต่างๆ ใน Estonia ทุกที่ต้องการความแรงจริงๆ
www.youtube.com/FbDohcbuhu0
Li-Fi  ใช้หลักการถ่ายโอนข้อมูลโดยใช้หลอดไฟ LED  ซึ่งปกติมีการกระพริบตลอดเวลาระดับ nanoseconds อันนี้ไม่แน่ใจว่าถ้าเทียบหน่วย น่าจะไวกว่า ถี่กว่า มิลลิวินาที มากๆ ซึ่งแน่นอนว่า สายตาเรา มองไม่ทันสังเกตการกระพริบอยู่แล้ว จริงๆไม่ใช่ของใหม่ แต่คิดค้นขึ้นในปี 2011 ในห้องแล็ป และมีความสามารถในการถ่ายโอนข้อมูลไวถึง 224 Gbps.
ซึ่งนับว่าเป็นการฉีกข้อจำกัดของสัญญาณ​ Wi-Fi ที่ดรอปความสามารถในการรับส่งสัญญาณลงเมื่อเจอกำแพง เพดาน โดย Li-Fi นั้นใช้หลอดไฟ  แถมการใช้หลอดไฟก็ลดความเสี่ยงจากการถูกดักจับข้อมูล เพราะส่งผ่านข้อมูลด้วยหลอดไฟโดยตรง 
ดูภาพแล้วนึกถึงการส่งรหัสมอร์สเลยทีเดียว หลักการประมาณนี้แหล่ะครับ
อ่านถึงตรงนี้ ก็อาจจะสงสัย เอ๊ะ งั้นใช้นอกอาคารก็ไม่ได้น่ะสิ จริงๆมันใช้ได้นะ แต่กลางแจ้งแบบสนามเลย ก็คงไม่ได้ ถึงตอนนั้น Wi-Fi ก็ยังมีการให้บริการอยู่ เราก็จะมี Wi-Fi, 3G, 4G ให้เลือกใช้หลากหลายช่องทางเชื่อมต่อ
สำหรับ Li-Fi นั้น ถือเป็นความสามารถในยุค smart home ต่อไปหลอด LED ให้ประโยชน์ได้ 2 อย่าง ทั้งให้แสงสว่าง และสร้างเครือข่ายในบ้าน เพื่อให้อุปกรณ์ต่างๆ สื่อสารพูดคุยกันได้  
ส่วนข้อแตกต่าง ระหว่าง Li-Fi กับ Wi-Fi ก็คงจะเป็นเรื่อง การรับส่งข้อมูลที่น่าจะถูกรบกวนและลดทอนที่น้อยกว่า และความปลอดภัยที่ดีกว่า อ้างอิง
นอกจากนี้ Velmenni บริษัท Startup พร้อมแล้วที่จะผลักดันแนวคิด Li-Fi จากห้องแล็ป สู่ลูกค้าจริงๆ  ตอนนี้มีทั้ง Oledcomm และ pureLiFi ซึ่งผลักดันโดย Harald Haas
ตัวอย่าง Kit ที่ขาย
ซึ่งทั้ง 2 บริษัท นำเสนอชุดติดตั้งเครือข่าย Li-Fi ในสำนักงานและบ้าน และทาง pureLiFi ยังอ้างว่า ตอนนี้ให้บริการบนความเร็ว 10 Mbps ได้แล้ว




วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2559

สรุปบทที่ 2 , กิจกรรมท้ายบทที่ 2



สรุป
คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นต่อการดำเนินกิจการของทุกๆองค์กร  เพราะคอมพิวเตอร์ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน  องค์ประกอบที่สำคัญของฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ประกอบด้วย  หน่วยรับข้อมูล  หน่วยประมวล  หน่วยความจำ  หน่วยแสดงผล  และหน่วยติดต่อสื่อสาร  คอมพิวเตอร์มีหลายประเภทตามขนาดและสมรรถนะในการใช้งานได้แก่ ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์  เมนเฟรม  มินิคอมพิวเตอร์และไมโครคอมพิวเตอร์  คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลซึ่งแบ่งได้เป็นคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะและคอมพิวเตอร์แบบพกพา  คอมพิวเตอร์แบบพกพาเป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ต้องคำนึกถึงวัตถุประสงค์ในการใช้งานเป็นหลักรวมถึงการดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอ

กิจกรรมท้ายบทที่ 2 

1.จงบอกหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
   
ตอบ   หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์จะเป็นไปตามที่โปรแกรมได้กำหนดไว้  โดยตัวเครื่องคอมพิวเตอร์หรือที่เรียกว่าฮาร์ดแวร์จะมีส่วนประกอบสำคัญขั้นพื้นฐาน  5  หน่วย  ซึ่งแต่ละหน่วยจะมีหลักการทำงาน  ดังนี้
                1.  หน่วยรับข้อมูล  (input unit)  ทำ หน้าที่รับข้อมูลมาจัดเก็บที่หน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์  จากนั้นเมื่อมีคำสั่งให้ประมวลผล  ข้อมูลที่ถูกจัดเก็บไว้ที่หน่วยความจำจะถูกส่งไปยังหน่วยประมวลผล
                2.  หน่วยประมวลผลกลาง (central processing unit) ทำหน้าที่ประมวลผลให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ  จากนั้นผลลัพธ์จะถูกส่งไปจัดเก็บที่หน่วยความจำหลัก
                3.  หน่วยความจำหลัก (main memory) ทำ หน้าที่จัดเก็บข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ ในขณะที่เครื่องคอมพิวเตอร์เปิดอยู่เท่านั้น  ถ้าปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ข้อมูลหรือโปรแกรมนั้นจะสูญหายไป
                4.  หน่วยแสดงผล (output unit) ทำหน้าที่นำผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลมาแสดงผลหรือจัดเก็บไว้ที่หน่วยความจำรอง
                5.  หน่วยความจำรอง (secondary storage) ทำ หน้าที่จัดเก็บข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ  เพื่อนำมาใช้อีกครั้งในภายหลังได้  แม้จะปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ข้อมูลและโปรแกรมที่จัดเก็บไว้จะไม่สูญหาย

2. ส่วนประกอบหลักของฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง

ตอบ  1. หน่วยรับข้อมูล (Input unit)
         2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit)
         3. หน่วยความจำหลัก (Main Memory) 
         4. หน่วยบันทึกข้อมูล (Data Entry Unit)
         5. หน่วยแสดงผลข้อมูล (Output Unit)

3. หน่วยประมวลผลกลาง มีความสำคัญอย่างไรต่อการทำงานของคอมพิวเตอร์

ตอบ หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip) 
นับเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากที่สุดของฮาร์ดแวร์ เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน เข้ามาทางอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน หน่วยประมวลผลกลาง

4. คอมพิวเตอร์มีกี่ประเภท จงอธิบาย

ตอบ  1. ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) หมายถึง เครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีความสามารถในการประมวลผลสูงที่สุด โดยทั่วไปสร้างขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่องานด้านวิทยาศาสตร์ที่ต้องการการประมวลผลซับซ้อน และต้องการความเร็วสูง เช่น งานวิจัยขีปนาวุธ งานโครงการอวกาศสหรัฐ (NASA) งานสื่อสารดาวเทียม หรืองานพยากรณ์อากาศ เป็นต้น
        2. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) หมายถึง เครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีส่วนความจำและความเร็วน้อยลง สามารถใช้ข้อมูลและคำสั่งของเครื่องรุ่นอื่นในตระกูล (Family) เดียวกันได้ โดยไม่ต้องดัดแปลงแก้ไขใดๆ นอกจากนั้นยังสามารถทำงานในระบบเครือข่าย (Network) ได้เป็นอย่างดี โดยสามารถเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์ที่เรียกว่า เครื่องปลายทาง (Terminal) จำนวนมากได้ สามารถทำงานได้พร้อมกันหลายงาน (Multi Tasking) และใช้งานได้พร้อมกันหลายคน (Multi User) ปกติเครื่องชนิดนี้นิยมใช้ในธุรกิจขนาดใหญ่ มีราคาตั้งแต่สิบล้านบาทไปจนถึงหลายร้อยล้านบาท ตัวอย่างของเครื่องเมนเฟรมที่ใช้กันแพร่หลายก็คือ คอมพิวเตอร์ของธนาคารที่เชื่อมต่อไปยังตู้ ATM และสาขาของธนาคารทั่วประเทศนั่นเอง
       3. มินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer) หมายถึงธุรกิจและหน่วยงานที่มีขนาดเล็กไม่จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ขนาดเมนเฟรมซึ่งมีราคาแพง ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์จึงพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้มีขนาดเล็กและมีราคาถูกลง เรียกว่า เครื่องมินิคอมพิวเตอร์ โดยมีลักษณะพิเศษในการทำงานร่วมกับอุปกรณ์ประกอบรอบข้างที่มีความเร็วสูงได้ มีการใช้แผ่นจานแม่เหล็กความจุสูงชนิดแข็ง (Harddisk) ในการเก็บรักษาข้อมูล สามารถอ่านเขียนข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว หน่วยงานและบริษัทที่ใช้คอมพิวเตอร์ขนาดนี้ ได้แก่ กรม กอง มหาวิทยาลัย ห้างสรรพสินค้า โรงแรม โรงพยาบาล และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ
       4.ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer) หมายถึง เครื่องประมวลผลข้อมูลขนาดเล็ก มีส่วนของหน่วยความจำและความเร็วในการประมวลผลน้อยที่สุด สามารถใช้งานได้ด้วยคนเดียว จึงมักถูกเรียกว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer : PC) ปัจจุบัน ไมโครคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพสูงกว่าในสมัยก่อนมาก อาจเท่ากับหรือมากกว่าเครื่องเมนเฟรมในยุคก่อน นอกจากนั้นยังราคาถูกลงมาก ดังนั้นจึงเป็นที่นิยมใช้มาก ทั้งตามหน่วยงานและบริษัทห้างร้าน ตลอดจนตามโรงเรียน สถานศึกษา และบ้านเรือน บริษัทที่ผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ออกจำหน่ายจนประสบความสำเร็จเป็นบริษัทแรก คือ บริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์ เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ จำแนกออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ   แบบติดตั้งใช้งานอยู่กับที่บนโต๊ะทำงาน (Desktop Computer)
                 แบบเคลื่อนย้ายได้ (Portable Computer) สามารถพกพาติดตัว อาศัยพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่จากภายนอก ส่วนใหญ่มักเรียกตามลักษณะของการใช้งานว่า Laptop Computer หรือ Notebook Compute

 

วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2559

สรุปข่าว ครั้งที่ 1



เปิดตัวด้วยชื่อใหม่! macOS Sierra ระบบปฏิบัติการใหม่ของ OS X มีอะไรใหม่บ้าง มาชมกัน

ใน macOS Sierra นี้ เราจะสามารถทำการค้นหาไฟล์ แอพฯ ด้วยการถาม Siri แทนที่จะเป็น Finder หรือ Spotlight ได้ รวมทั้งการขอให้ Siri คิดเลขหรือเสิร์จอินเตอร์เน็ตก็ทำได้เช่นกัน
และที่สำคัญ สำหรับผู้พัฒนาแอพฯ ทาง Apple ได้ปล่อยซอฟต์แวร์สำหรับนำไปพัฒนา Siri ให้ใช้งานอีกด้วย
  • การทำงานร่วมกันระหว่าง macOS กับอุปกรณ์อื่นๆ
หนึ่งในความตั้งใจของ Apple ที่ทำการเปลี่ยนชื่อของ OS X ให้มีชื่อธีมเดียวกับพี่น้องในตระกูล เพื่อให้รู้ใจกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นฟังก์ชั่นใหม่อย่าง 'Universal' Clipboard ให้ผู้ใช้งานสามารถ คัดลอก (Copy) ข้อความหรือลิ้งบน iPhone ไปวาง (Paste) บน macOS ได้ หรือการใช้งาน iCloud ร่วมกัน เช่น การแคปภาพจากบนจอ macOS และใช้ iPhone นำภาพที่แคปด้วย macOS มาอัพโหลดลงโซเชียลได้ทันที
นอกจากนี้ยังมีเรื่องของความปลอดภัย ที่ตัวเจ้าของสามารถใช้งานได้สะดวกขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้ Apple Watch ในการปลดล๊อคหน้าจอของเครื่อง Mac โดยไม่ต้องใส่รหัสผ่าน หรือการซื้อของด้วย Apple Pay บน Mac และยืนยันการจ่ายเงินผ่าน Touch ID ด้วย iPhone แทน
  • การจัดการต่างๆ ที่ง่ายขึ้น
นอกจากการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆ แล้ว macOS Sierra ยังมีฟีเจอร์การจัดการเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้อีก ไม่ว่าจะเป็น ระบบการเคลียร์พื้นที่อัตโนมัติให้กับไฟล์ใหม่ๆ ด้วยการเก็บไฟล์เก่าไว้ใน iCloud เป็นเวลา 30 วันก่อนที่จะลบไฟล์เก่าๆ ทิ้ง
อีกส่วนหนึ่งก็คือฟีเจอร์การจัดการหน้าต่างบนเดสก์ทอป ไม่ว่าจะเป็น 'Picture-in-Picture' ให้เพื่อนๆ สามารถเปิดหน้าจอ Pop-ups ขึ้นมา ระหว่างใช้งานแอพฯ อื่นๆ เช่นเปิดหนังดูในจอเล็กๆ ระหว่างทำงาน โดยไม่ต้องกลัวว่าหน้าต่างอื่นๆ จะมาบังจอขัดจังหวะ และฟังก์ชั่น Tabs API ในการรวมแท็ปของแอพฯ ต่างๆ ไว้ในหน้าต่างเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น Safari หรือ iTunes เพื่อเพิ่มที่ว่างบนหน้าจอให้มากขึ้น
สำหรับ macOS Sierra ตัวใหม่นี้ ได้ปล่อยเวอร์ชั่น Developer preview ไปแล้ว ส่วนเวอร์ชั่น Beta สำหรับคนทั่วไปจะปล่อยให้อัพเดทกันในเดือนกรกฎาคม และตัวเต็มจะพร้อมให้บริการภายในเดือนกันยายนนี้

สรุปบทที่ 1




สรุป

ปัจจุบันเทคโนโลยีที่มีการดำเนินการเพื่อให้มีการจัดทำสารสนเทศไว้ใช้งานมีการประยุกต์เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อรวบรวมจัดเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลการผลิตสื่อสารบันทึกเรียบเรียงใหม่ เทคโนโลยีสารสนเทศมีการพัฒนามายาวนานกว่าจะเป็นเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กราคาถูกและประสิทธิภาพสูงที่ใช้ในปัจจุบันส่วนเทคโนโลยีด้าการสื่อสารโทรคมนาคมก็พัฒนาจนเป็นเทคโนโลยีเครือข่ายก่อเกิดเว็บ 2.0 ที่ผู้ใช้งานสามารถมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการนำเสนอเนื้อหาผ่านบล็อกจนกลายเป็นเว็บ 3.0 ในปัจจุบันที่มีลักษณะเป็นปัญญาประดิษฐ์ส่วนประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศมีประโยชน์มากมายไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารสนเทศอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงและลดปัญหาด้านเวลาและภูมิศาสตร์รวมถึงนำมาประยุกต์ใช้งานในสาขาอาชีพต่างๆไม่ว่าจะเป็นการศึกษาธุรกิจธนาคารด้านตำรวจและความมั่นคงของประเทศด้านการแพทย์การบันเทิงและการจัดการสิ่งล้อม


กิจกรรมท้ายบทที่ 1 


1. ให้นักศึกษาอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล สารสนเทศ และเทศโนโลยีสารสนเทศ

      ตอบ ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล    เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูล ของเอนทิตี้หนึ่งว่ามีความสัมพันธ์กับข้อมูลในอีกเอนทิตี้                                                              หนึ่งในลักษณะ หนึ่ง ต่อ หนึ่ง  

       ความสัมพันธ์ระหว่างสารสนเทศ  ความสัมพันธ์ของระบบสารสนเทศแบบต่างๆ ในองค์การ  โดยปกติแล้ว  TPS จะเป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐานให้กับระบบสารสนเทศอื่นๆ ในขณะที่ EIS จะเป็นระบบที่รับข้อมูลจากระบบสารสนเทศในระดับที่ต่ำกว่า นอกจากนี้ ในระบบสารสนเทศแต่ละประเภทอาจมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลภายในระบบย่อยๆ กันเอง เช่น ระบบสารสนเทศฝ่ายขายกับระบบสารสนเทศฝ่ายผลิต และระบบสารสนเทศฝ่ายจัดส่งสินค้า เป็นต้น 
      ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีสารสนเทศ  เทคโนโลยีสารสนเทศเกิดจาก การทำงานส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อ ให้ได้ข้อมูลสารสนเทศที่สมบูรณ์ ถูกต้อง รวดเร็ว ตามความต้องการของผู้ใช้งาน แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย พ.ศ. 2545-2549 

2.ในชีวิตประจำวันของนักศึกษามีการใช้เทคโนโลยีสานสนเทศในด้านใดบ้าง
     ตอบ 1. ด้านการแพทย์และสาธารณสุข
            2. ด้านการเงินการธาคาร
            3. ด้านการคมนาคม

3. ในชีวิตประจำวันของนักศึกษามีการใช้ฮาร์ดแวร์อะไรบ้างและอุปกรณ์ดังกล่าวอยู่ในหน่วยใด
    ตอบ ฮาร์ดแวร์ (hardware) หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย คือ หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หน่วยแสดงผล (Output Unit) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage) โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน ฮาร์ดแวร์ (hardware) หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย คือ หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หน่วยแสดงผล (Output Unit) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage) โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน 

4. นักศึกษามีการใช้ซอฟต์แวร์เพื่อจัดการเรียนการสอนอะไรบ้าง
     ตอบ  (โปรแกรมฝึกพิมพ์ดีด ฝึกพิมพ์ไทย ฝึกพิมพ์อังกฤษ) ฝึกพิมพ์ดีดแบบสำผัส ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ มีทั้งหมด 25 แบบเรียน เลือกและบันทึกสถิติไว้เพื่อดูประวัติการฝึกพิมพ์ สามารถแก้ไขแบบเรียนได้ 

วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2559


(: (: (: สวัสดีค่ะ :) :) :)

 นางสาว กาญจนา เจ๊ะยะหลี ชื่อเล่น ย๊ะ

บ้านเลขที่  23/21 หมู่ที่ 4  ตำบลท่าทองใหม่  อำเภอกาญจนดิษฐ์  จังหวังสุราษฎร์ธานี

เกิดวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 อายุ 21 ปี

บิดาชื่อ นายอับรอเฮม   เจ๊ะยะหลี

มารดาชื่อ นางสุมาลี   เจ๊ะยะหลี   

(: (: (: สิ่งที่ชอบ :) :) :)

ตุ๊กตา : มิ๊กกี้เมาส์
อาหาร : ข้าวผัดทะเล
สี : ชมพู่

(: (: (: ประวัติการศึกษา :) :) :)

ระดับอนุบาล 1-3 จากโรงเรียนบ้านบางสำโรง
ระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น 1-3 จากโรงเรียนบ้านบางสำโรง
ระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย 4-6 จากโรงเรียนบ้านบางสำโรง
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 1-3 จากโรงเรียนธีราศรมสุราษฎร์
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1-3 จากวิทยาลัยเทคโนโลยีสุราษฎร์พาณิชยการ
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงชั้นปีที่ 1-2 จากวิทยาลัยเทคโนโลยีสุราษฎร์พาณิชยการ
ปัจจุบันศึกษาอยู่ที่วิทยาลัยตาปี วิทยาเขตพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

(: (: (: คติประจำใจ :) :) :)

เรียนให้จบ  เพื่อลบคำดูถูก


ขอบคุณค่ะ..........