วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2559

สรุปบทที่ 3 , กิจกรรมท้ายบทที่ 3 , สรุป Li-Fi


สรุป

เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลมีการใช้งานระบบอินเทอร์เน็ตอย่างแพร่หลาย ซึ่งขั้นพื้นฐานของระบบอินเตอร์เน็ตนั้นพัฒนามาจารระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การเชื่อมต่อกันระหว่างคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป ผ่านสื่อกลางในการติดต่อสื่อสาร ระบบการสื่อสารข้อมูลประกอบไปด้วย ข้อมูล ฝ่ายผู้ส่งข้อมูล ฝ่ายผู้รับข้อมูล สื่อกลางส่งข้อมูลและโพรโตคอล รูปแบบกาสื่อสารข้อมูลบนระบบเครือข่าย มี 3 รูปแบบคือ แบบ Unicast แบบ Broadcast และแบบ Multicast เราสามารถจำแนกประเภทของเครือข่ายออกได้หลายลักษณะ เช่น แบ่งตามขนาดพื้นที่การให้บริการ (LAN, MAN, WAN) สำหรับการติดต่อสื่อสารจำเป็นต้องมีมาตรฐานที่ใช่กันเพื่อติดต่อสื่อสารกัน การใช่มาตรฐานในการติดต่อสื่อสารในปัจจุบันเป็น IEEE802.11n ระบบเครือข่ายพิจารณาได้จาก สมถรรนะ ความน่าเชื่อถือ และความปลอดภัย โดยสามารถประยุกต์ใช้งานระบบเครือข่ายในด้านการติดต่อสื่อสาร  ด้านการค้นหาข้อมูล ด้านธุรกิจและการเงิน ด้านการศึกษา และด้านการแพทย์

กิจกรรมท้ายบทที่ 3 

1.องค์ประกอบพื้นฐานของระบบสื่อสารข้อมูลแต่ละชนิดทำหน้าที่อย่างไร

ตอบ   1. ผู้ส่ง (Sender) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งข่าวสาร (Message) เป็นต้นทางของการสื่อสารข้อมูลมีหน้าที่เตรียมสร้างข้อมูล เช่น ผู้พูด โทรทัศน์ กล้องวิดีโอ เป็นต้น
         2. ผู้รับ (Receiver) เป็นปลายทางการสื่อสาร มีหน้าที่รับข้อมูลที่ส่งมาให้ เช่น ผู้ฟัง เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
        3. สื่อกลาง (Medium) หรือตัวกลาง เป็นเส้นทางการสื่อสารเพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง สื่อส่งข้อมูลอาจเป็นสายคู่บิดเกลียว สายโคแอกเชียล สายใยแก้วนำแสง หรือคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น เลเซอร์ คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุภาคพื้นดิน หรือคลื่นวิทยุผ่านดาวเทียม
        4. ข้อมูลข่าวสาร (Message) คือสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสาร ซึ่งอาจถูกเรียกว่า สารสนเทศ (Information) โดยแบ่งเป็น 5รูปแบบ ดังนี้
         4.1 ข้อความ (Text) ใช้แทนตัวอักขระต่าง ๆ ซึ่งจะแทนด้วยรหัสต่าง ๆ เช่น รหัสแอสกี เป็นต้น 
         4.2 ตัวเลข (Number) ใช้แทนตัวเลขต่าง ๆ ซึ่งตัวเลขไม่ได้ถูกแทนด้วยรหัสแอสกีแต่จะถูกแปลงเป็นเลขฐานสองโดยตรง
         4.3 รูปภาพ (Images) ข้อมูลของรูปภาพจะแทนด้วยจุดสีเรียงกันไปตามขนาดของรูปภาพ
         4.4 เสียง (Audio) ข้อมูลเสียงจะแตกต่างจากข้อความ ตัวเลข และรูปภาพเพราะข้อมูลเสียงจะเป็นสัญญาณต่อเนื่องกันไป
         4.5 วิดีโอ (Video) ใช้แสดงภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเกิดจากการรวมกันของรูปภาพหลาย ๆ รูป
      5. โปรโตคอล (Protocol) คือ วิธีการหรือกฎระเบียบที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจกันหรือคุยกันรู้เรื่อง โดยทั้งสองฝั่งทั้งผู้รับและผู้ส่งได้ตกลงกันไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว ในคอมพิวเตอร์โปรโตคอลอยู่ในส่วนของซอฟต์แวร์ที่มีหน้าที่ทำให้การดำเนินงาน ในการสื่อสารข้อมูลเป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ ตัวอย่างเช่น X.25, SDLC, HDLC, และ TCP/IP เป็นต้น 


2, การสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้าง จงอธิบาย

ตอบ   1.  คอมพิวเตอร์อย่างน้อย 2 เครื่อง ขึ้นไป เพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล สื่อสารในลักษณะต่างๆ ตามวัตถุประสงค์การใช้งาน


2. เน็ตเวิร์คการ์ด หรือ NIC (Network Interface Card) 
        เน็ตเวิร์คการ์ดเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่าย ส่วนใหญ่จะเรียกว่า NIC (Network Interface Card) หรือบางทีเรียกว่า แลนการ์ด (LAN Card) อุปกรณ์นี้จะทำหน้าที่แปลงข้อมูลเป็นสัญญาณที่สามารถส่งไปตามสายสัญญาณหรือสื่อแบบอื่นได้


3. สื่อกลางและอุปกรณ์สำหรับการรับส่งข้อมู เช่น สายสัญญาณ สายสัญญาณที่นิยมใช้ในระบบเครือข่าย ได้แก่ 


      - สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)
        สายแบบนี้จะประกอบด้วยตัวนำที่ใช้ในการส่งข้อมูลเส้นหนึ่งอยู่ตรงกลางอีกเส้นหนึ่งเป็นสายดิน ระหว่างตัวนำสองเส้นนี้จะมีฉนวนพลาสติกกั้นสายโคแอคเชียลแบบหนาจะส่งข้อมูลได้ไกลหว่าแบบบาง
แต่มีราคาแพงและติดตั้งได้ยากกว่า เรียกสั้นๆ ว่า ":""''สายโคแอก"

      - สายคู่บิดเกลียว (Twisted pair)
        เป็นสายทองแดงแบบดั้งเดิมที่เชื่อมต่อบ้านและบริษัทต่าง ๆ กับผู้ให้บริการโทรศัพท์เพื่อลด cross talkหรือการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าระหว่างคู่สาย จะใช้สายทองแดงหุ้มฉนวนพันกันเป็นเกลียว แต่ละการเชื่อมต่อบนสาย twisted pair ต้องการทั้ง สาย เนื่องจากโทรศัพท์บางแบบหรือที่ตั้งโต๊ะ บางที่ต้องการเชื่อมแบบหลายการเชื่อมต่อ สาย twisted pair ในบางครั้งจึงมี คู่ หรือมากกว่าภายในสายเคเบิลเดียว สำหรับที่ตั้งบริษัทบางแห่ง สาย twisted pair มีการหุ้มเพื่อทำหน้าที่เป็นสายดิน ซึ่งเรียกว่า shield twisted pair (STP)สายที่ใช้ตามบ้านทั่วไปคือ unshielded twisted pair (UTP)
      
      - เส้นใยแก้วนำแสง (Fiber Optic)
        เป็นตัวกลางของสัญญาณแสงชนิดหนึ่ง ที่ทำมาจากแก้วซึ่งมีความบริสุทธิ์สูงมาก เส้นใยแก้วนำแสงมีลักษณะเป็นเส้นยาวขนาดเล็ก มีขนาดประมาณเส้นผมของมนุษย์เรา เส้นใยแก้วนำแสงที่ดีต้องสามารถนำสัญญาณแสงจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้ โดยมีการสูญเสียของสัญญาณแสงน้อยมาก



3. รูปแบบการสื่อสารข้อมูลชนิดใดที่นิยมในเครือข่ายท้องถิ่นในปัจจุบัน เพราะอะไรจงอธิบาย

ตอบ การสื่อสารข้อมูล (Data Communications) หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน
                     วิธีการส่งข้อมูลนี้ จะแปลงข้อมูลเป็นสัญญาณ หรือรหัสเสียก่อนแล้วจึงส่งไปยังผู้รับ และเมื่อถึงปลายทางหรือผู้รับก็จะต้องมีการแปลงสัญญาณนั้นกลับมาให้อยู่ในรูปที่มนุษย์ สามารถที่จะเข้าใจได้ ในระหว่างการส่งอาจจะมีอุปสรรค์ที่เกิดขึ้นก็คือ สิ่งรบกวน (Noise) จากภายนอกทำให้ข้อมูลบางส่วนเสียหายหรือผิดเพี้ยนไปได้ซึ่งระยะทางก็มีส่วนเกี่ยวข้อง ด้วยเพราะถ้าระยะทางในการส่งยิ่งมากก็อาจจะทำให้เกิดสิ่งรบกวนได้มากเช่นกัน จึงต้องมีหาวิธีลดสิ่งรบกวนเหล่านี้ โดยการพัฒนาตัวกลางในการสื่อสารที่จะทำให้เกิดการรบกวนน้อยที่สุด
ส่วนประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล ได้แก่
1.  ตัวส่งข้อมูล
2.  ช่องทางการส่งสัญญาณ
3.  ตัวรับข้อมูล
4.  การสื่อสารข้อมูลในระดับเครือข่าย

4. เพราะเหตุใดระบบเครือข่ายไร้สายจึงเป็นที่นิยมในปัจจุบัน

ตอบ  ปัจจุบันเทคโนโลยีเครือข่าย LAN แบบไร้สาย หรือ WLAN (Wireless LAN) กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากประโยชน์ของ WLAN มีอยู่มากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่ง WLAN สร้างความสะดวกและอิสระในการใช้งานและติดตั้งเครือข่าย เทคโนโลยี WLAN ทำให้การเชื่อมต่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในบ้านหรือสำนักงานเข้าด้วยกันหรือต่อเข้ากับเครือข่ายไม่จำเป็นจะต้องใช้สายนำสัญญาณให้ยุ่งยากและดูเกะกะอีกต่อไป อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั้งแบบตั้งโต๊ะและพกพาสามารถเชื่อมต่อถึงกันหรือเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายจากตำแหน่งต่างๆ ที่อยู่ในรัศมีของสัญญาณได้อย่างอิสระ 

สรุป Li-Fi

เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง จากการลากสายแลน สู่เทคโนโลยีไร้สาย Wi-Fi ที่เราใช้จนคุ้นเคยมาหลายปีแล้ว จริงอยู่ว่าสะดวกในการเชื่อมต่อและใช้งานง่าย แต่ความต้องการของผู้ใช้อย่างเราๆก็อยากได้เน็ตแรง เน็ตความเร็วสูง (หลอด)​ ไฟแรงเฟร่อ Li-Fi จึงเป็นอีกเทคโนโลยีที่น่าจับตามอง

ที่มา http://purelifi.com/what_is_li-fi/how-does-vlc-work/
เทคโนโลยี Li-Fi ถูกขนานนามว่า "แรงกว่า Wi-Fi เป็นร้อยเท่า" พาดหัวแบบนี้ ส่วนใหญ่สนใจ เพราะใครๆก็ต้องการความแรง ความเร็ว ยิ่งการดาวน์โหลด อัพโหลด ยิ่งไว ยิ่งใช้เวลาน้อย ตอนนี้อะไรก็ไวไปหมด เทคโนโลยี Li-Fi ที่คิดค้นในห้องแล็ป กำลังจะกลายเป็นความจริง โดยเฉพาะการใช้งานในออฟฟิศ และอุตสาหกรรมต่างๆ ใน Estonia ทุกที่ต้องการความแรงจริงๆ
www.youtube.com/FbDohcbuhu0
Li-Fi  ใช้หลักการถ่ายโอนข้อมูลโดยใช้หลอดไฟ LED  ซึ่งปกติมีการกระพริบตลอดเวลาระดับ nanoseconds อันนี้ไม่แน่ใจว่าถ้าเทียบหน่วย น่าจะไวกว่า ถี่กว่า มิลลิวินาที มากๆ ซึ่งแน่นอนว่า สายตาเรา มองไม่ทันสังเกตการกระพริบอยู่แล้ว จริงๆไม่ใช่ของใหม่ แต่คิดค้นขึ้นในปี 2011 ในห้องแล็ป และมีความสามารถในการถ่ายโอนข้อมูลไวถึง 224 Gbps.
ซึ่งนับว่าเป็นการฉีกข้อจำกัดของสัญญาณ​ Wi-Fi ที่ดรอปความสามารถในการรับส่งสัญญาณลงเมื่อเจอกำแพง เพดาน โดย Li-Fi นั้นใช้หลอดไฟ  แถมการใช้หลอดไฟก็ลดความเสี่ยงจากการถูกดักจับข้อมูล เพราะส่งผ่านข้อมูลด้วยหลอดไฟโดยตรง 
ดูภาพแล้วนึกถึงการส่งรหัสมอร์สเลยทีเดียว หลักการประมาณนี้แหล่ะครับ
อ่านถึงตรงนี้ ก็อาจจะสงสัย เอ๊ะ งั้นใช้นอกอาคารก็ไม่ได้น่ะสิ จริงๆมันใช้ได้นะ แต่กลางแจ้งแบบสนามเลย ก็คงไม่ได้ ถึงตอนนั้น Wi-Fi ก็ยังมีการให้บริการอยู่ เราก็จะมี Wi-Fi, 3G, 4G ให้เลือกใช้หลากหลายช่องทางเชื่อมต่อ
สำหรับ Li-Fi นั้น ถือเป็นความสามารถในยุค smart home ต่อไปหลอด LED ให้ประโยชน์ได้ 2 อย่าง ทั้งให้แสงสว่าง และสร้างเครือข่ายในบ้าน เพื่อให้อุปกรณ์ต่างๆ สื่อสารพูดคุยกันได้  
ส่วนข้อแตกต่าง ระหว่าง Li-Fi กับ Wi-Fi ก็คงจะเป็นเรื่อง การรับส่งข้อมูลที่น่าจะถูกรบกวนและลดทอนที่น้อยกว่า และความปลอดภัยที่ดีกว่า อ้างอิง
นอกจากนี้ Velmenni บริษัท Startup พร้อมแล้วที่จะผลักดันแนวคิด Li-Fi จากห้องแล็ป สู่ลูกค้าจริงๆ  ตอนนี้มีทั้ง Oledcomm และ pureLiFi ซึ่งผลักดันโดย Harald Haas
ตัวอย่าง Kit ที่ขาย
ซึ่งทั้ง 2 บริษัท นำเสนอชุดติดตั้งเครือข่าย Li-Fi ในสำนักงานและบ้าน และทาง pureLiFi ยังอ้างว่า ตอนนี้ให้บริการบนความเร็ว 10 Mbps ได้แล้ว




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น